วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 12 การอนุรักษ์พลังงาน

หน่วยที่  12  การอนุรักษ์พลังงาน
1.  สาระสำคัญ          
                                การใช้พลังงานทุกวันนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากปิโตรเลียม  พลังงานถ่านหิน  พลังงานก๊าซธรรมชาติ  นับวันยิ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกที  ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ  เนื่องจากประเทศไทยไม่มีพลังงานเหล่านี้อย่างเพียงพอ  ทำให้ต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถนำไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ได้อีกมาก  แต่ปัญหาที่สำคัญคือ  พลังงานจากสิ่งเหล่านี้ในโลกก็มีจำนวนจำกัด  และจะต้องหมดไปในวันใดวันหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ขณะที่การใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานอื่น ๆ  เช่น  จากพลังงานลม  พลังงานน้ำ  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานความร้อนใต้พิภพ  ยังไม่สามารถพัฒนาให้เกิดการคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจได้เท่าที่ควร  ดังนั้น  การใช้พลังงานอย่างประหยัด  และการรู้จักอนุรักษ์พลังงานที่มีอยู่  จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนทุกคนในประเทศต้องมีความรู้   ความเข้าใจ  และจะต้องให้ความร่วมมือ   ร่วมใจ  ร่วมแรงสนับสนุนซึ่งกันและกันในการอนุรักษ์พลังงานอย่างสอดคล้องและประสานไปในทิศทางเดียวกัน  จึงจะทำให้การอนุรักษ์พลังงานประสบผลสำเร็จ  สามารถลดการใช้พลังงานของประเทศได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้    และถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนด้วย
2.   สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
                                มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงาน สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์พลังงาน  วิธีการเบื้องต้นในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์พลังงานตามพ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน   พ.ศ.  2535         สามารถปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนได้
3.    จุดประสงค์การเรียนรู้               
1.    อธิบายเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานได้
2.   ระบุสาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์พลังงานได้
3.   บอกวิธีการเบื้องต้นในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้
4.   อธิบายการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ.   2535  ได้                
5.   จำแนกสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  พ.ศ. 2535  ได้
6.   อธิบายและปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนได้
 แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่   12
คำชี้แจง      จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.   ผลิตและใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เป็นความหมายของข้อใด
                ก.   การพัฒนา
                ข.   การอนุรักษ์
                ค.   การบำรุงรักษา
                ง.   การพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.   พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  ได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อใด
                ก.   พ.ศ.   2535
                ข.   พ.ศ.   2536
                ค.   พ.ศ.   2537
                ง.   พ.ศ.   2538
3.   วิธีการเบื้องต้นในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ข้อใดคือขั้นตอนแรก
                ก.   การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย
                ข.   การหามาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน
                ค.   การจัดตั้งองค์กรด้านการอนุรักษ์พลังงาน
                ง.   การวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อหาศักยภาพ
4.   มาตรการในการประหยัดพลังงานนั้น  ควรนำไปใช้กับกิจกรรมใด
                ก.   สถานที่ราชการ
                ข.   ภาคอุตสาหกรรม
                ค.   ภาคการคมนาคมขนส่ง
                ง.   ทุกข้อคือคำตอบ
5.   วันที่   3   เมษายน  พ.ศ.  2535   มีความสำคัญอย่างไร
              ก.   เป็นวันประกาศลดการใช้พลังงาน
              ข.   เป็นวันรณรงค์ใช้มาตรการ Car  Free  Day
              ค.   เป็นวันที่ทุกประเทศทั่วโลกลดการใช้พลังงาน     
              ง.   เป็นวันที่ พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีผลบังคับใช้
6.   หลักสูตรการฝึกอบรมในระบบการจัดการด้านพลังงาน จะอยู่ในขั้นตอนใด
                ก.   โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ
                ข.    การวางแผนการอนุรักษ์พลังงาน
                ค.    การนำไปปฏิบัติและการควบคุม
                ง.   การตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไข
7.   ใครเป็นผู้ดำเนินการวางแผนการจัดการพลังงานในองค์กร
                ก.   ผู้บริหาร
                ข.   พนักงาน
                ค.   ตัวแทนพนักงาน
                ง.   คณะทำงานและตัวแทนฝ่ายบริหาร
8.   ในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมขั้นตอนใดที่สำคัญที่สุด
                ก.  การสร้างความต้องการ
                ข.   การปรับความคิดผู้บริหาร
                ค.   การตั้งทีมอนุรักษ์พลังงาน
                ง.   การตรวจวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและมาตรการ
9.   การดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน  เป็นหน้าที่ของใครในองค์กร
                ก.   ผู้บริหาร
                ข.   คณะทำงาน
                ค.   ตัวแทนผู้บริหาร
                ง.   พนักงานทุกคนในองค์กร
10.  ขั้นตอนใดที่จะทำให้ทราบถึงสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
                ก.   การกำหนดเป้าหมาย
                ข.   การตั้งทีมอนุรักษ์พลังงาน
                ค.   การดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
                ง.   การประเมินผลการอนุรักษ์พลังงาน
                                เนื้อหา
                   1.   ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
  การอนุรักษ์พลังงาน   ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  พ.ศ. 2535  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  หมายถึง  ผลิตและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
                                2.    สาเหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์พลังงาน
มนุษย์เป็นต้นเหตุการหมดไปหรือลดลงของพลังงาน      จึงจะต้องแก้ปัญหาจากต้นตอด้วยการร่วมมือร่วมใจกันประหยัดพลังงาน  เพื่อให้สามารถใช้พลังงานที่เหลืออยู่ได้อย่างยืนยาวขึ้น  และอาจมีเหลือเผื่อลูกหลานในอนาคตได้ใช้ต่อไปอีกด้วย
                              3.   นโยบายว่าด้วยพลังงานของไทย    มี 4 ประการ คือ
3.1   ต้องจัดหาพลังงานให้พอใช้ มีคุณภาพ มีความมั่นคง และราคาไม่                  
3.2   ชักจูงให้ประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน   โดย      
 (1)   มาตรฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้า  ต้องใช้ไฟ น้อย  เช่น  ตู้เย็นเบอร์ 5  ฯลฯ
(2)   มาตรฐานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและในโรงงาน ฯลฯ
3.3   ส่งเสริมให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมผลิตพลังงานเพื่อลดภาระของ 
3.4    ต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เชื้อเพลิงใดที่มีมลพิษมาก     
                        4.    วิธีการเบื้องต้นในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน   ได้แก่
4.1     การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย       
 4.2   การจัดตั้งองค์กรด้านการอนุรักษ์พลังงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.3   การวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อหาศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน
4.4   การหามาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน
ก.  วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง  (Housekeeping)
 ข.   วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์
ค.   วิธีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบ
4.5    การติดตามผลตามแผนดำเนินงาน
                                5.   การอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  พ.ศ.2535
ในเบื้องต้นโครงการประหยัดพลังงานของประเทศ       ได้กำหนดให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และการประหยัดในภาคอุตสาหกรรม  อาทิ  การให้บริการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน  และเสนอแนะวิธีการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม  การจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน  ตั้งแต่ระดับผู้บริหารวิศวกร  และช่างเทคนิคของโรงงาน  การให้สิ่งจูงใจด้วยการลดอากรศุลกากรขาเข้าของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน  และการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่โรงงาน  เพื่อการสาธิตการประหยัดพลังงาน  รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประหยัดพลังงานด้วยวารสารข่าว  เอกสารวิชาการ  โปสเตอร์  และแผ่นพับ  เป็นต้น
              โครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง  และขยายขอบเขตกว้างขวางเพิ่มขึ้น  จนถึงในช่วงของแผนพัฒนาฯ  ฉบับที่  6  (2530 2534)  จึงได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มขึ้นให้มีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารพาณิชย์  และที่อยู่อาศัยด้วย
                                ในปี  พ.ศ.  2529  ภายหลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน  จนได้ผลมาในระดับหนึ่ง แต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในด้านการส่งออก  การลงทุน  และการท่องเที่ยว  ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขยายตัวสูงขึ้นตามไปด้วย  จึงเป็นภาระของทั้งภาครัฐ  และเอกชนในการจัดหาพลังงานมาสนองตอบความต้องการใช้ให้เพียงพอ  ดังนั้นนอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ แล้ว  การอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน  จะเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศได้  และจากการเห็นผลสำเร็จของต่างประเทศในการอนุรักษ์พลังงาน  อาทิเช่น  ญี่ปุ่น  เยอรมัน  แคนาดา  ซึ่งประเทศเหล่านี้มีกฎหมายอนุรักษ์พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ภาคเอกชน  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา และได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ  และได้มีพระบรมราชโองการฯ  ให้ประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  2  เดือน  เมษายน  พ.ศ.  2535  ทำให้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.  2535  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  3  เมษายน  พ.ศ.  2535  เป็นต้นมา
                                6.   สาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
                                      กฎหมายอนุรักษ์พลังงานมีชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  พ.ศ.  2535  หลักการของกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อ
                                      6.1 กำกับ  ดูแล  ส่งเสริม  และสนับสนุน  ให้ผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย  (อาคารควบคุม และโรงงานควบคุม)  มีการอนุรักษ์พลังงานด้วยการผลิต  และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และประหยัด
                                      6.2  ส่งเสริม  และสนับสนุน  ให้เกิดการผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ  และวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศ  และมีการใช้อย่างแพร่หลาย
                                         6.3  ส่งเสริม  และสนับสนุน  ให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นรูปธรรม  ด้วยการจัดตั้ง  กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  เพื่อใช้เป็นกลไกในการให้การอุดหนุนช่วยเหลือทางการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน
                                7.    การอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน   แบ่งเป็น
                                                แบบที่  1  ระบบการจัดการด้านพลังงาน    ประกอบด้วย   6   ขั้นตอน  คือ
                                                                ขั้นตอนที่  1          นโยบายพลังงาน  (Energy Policy)
                                                                ขั้นตอนที่  2          โครงสร้างหน้าที่และความรับผิดชอบ
                                                                ขั้นตอนที่  3          การวางแผนการจัดการพลังงาน
                                                                ขั้นตอนที่  4          การนำไปปฏิบัติและการควบคุม
                                                                ขั้นตอนที่  5          การตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไข
                                                                ขั้นตอนที่  6          การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

แบบที่  1  ระบบการจัดการด้านพลังงาน

                ระบบการจัดการด้านพลังงาน  มีขั้นตอนสำคัญอยู่  6  ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

 
ภาพที่    1    รูปแสดงโครงสร้างของระบบการจัดการด้านพลังงาน
แบบที่  2      การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม   ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน  คือ
ขั้นตอนที่  1         การปรับความคิดผู้บริหาร
ขั้นตอนที่  2         สร้างความต้องการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่  3         การตั้งทีมอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่ 4         การตรวจวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่  5         การดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่  6          การประเมินผล

 

ภาพที่   2   แผนผังแสดงโครงสร้างของการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม
บทสรุป 
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์    ซึ่งมนุษย์ใช้พลังงานเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์สร้างความสะดวกสบายให้กับตนเอง   เนื่องจากสถานการณ์ด้านพลังงานของโลก     และความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน      คนไทยทุกคน  จะต้องตระหนักถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความต้องการใช้พลังงานของประเทศ   ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน วิกฤตการณ์ด้านพลังงานที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยขณะนี้คนไทยจะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันทั้งประเทศในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง ด้วยวิธีการอนุรักษ์พลังงานแบบง่าย ๆ   มีประสิทธิภาพ   และสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว    อาทิเช่น    ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่   25  องศาเซลเซียส   ปิด เครื่องปรับอากาศให้เร็วขึ้น  และเปิดเครื่องปรับอากาศให้ช้าลงตามจำนวนชั่วโมงที่เห็นว่าทำได้ และไม่กระทบกระเทือนต่อการทำงานมากจนเกินไป       การปิดจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อต้องการพักใช้งาน    เป็นต้น        นอกจากนี้  คนไทยจะต้องมีสติและจิตสำนึกในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป เพื่อทดแทนแผ่นดินไทยที่เป็นบ้านเกิด ต่อสังคมไทย   และต่อประเทศชาติต่อไป

แบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยที่  12
ตอนที่  1   จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.  ข้อใดกล่าวถึง การอนุรักษ์ ได้ถูกต้อง
                ก.  มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น
                ข.  ใช้อย่างสมเหตุสมผล
                ค.  ไม่ต้องใช้เก็บไว้อย่างเดียว
                ง.  ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
2.  โครงการรณรงค์ในการอนุรักษ์พลังงานส่วนใหญ่จะเน้นที่ผู้ใด
                ก.  ชุมชน
                ข.  หน่วยงานของรัฐ
                ค.  หน่วยงานของเอกชน
                ง.  ประชาชนทุกคนในประเทศ
3.  แนวทางในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานจะต้องดำเนินการในข้อใดเป็นประการแรก
                ก.  การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย
                ข.  การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
                ค.  การหามาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน
                ง.  การวิเคราะห์หาศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน
4.  การใช้นโยบายประหยัดพลังงานของประเทศไทย เริ่มต้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
     แห่งชาติฉบับใด
                ก.  ฉบับที่  1
                ข.  ฉบับที่  2
                ค.  ฉบับที่  3
                ง.   ฉบับที่  4
5.  การกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานได้ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
     ฉบับใด
                ก.  ฉบับที่  2
                ข.  ฉบับที่  3
                ค.  ฉบับที่  4
                ง.  ฉบับที่  5
6.  มาตรฐานข้อกำหนดการใช้พลังงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดอยู่ในขั้นตอนใดของระบบการจัดการ
     ด้านพลังงาน
                ก.  นโยบายพลังงาน
                ข.  หน้าที่ความรับผิดชอบ
                ค.  การวางแผนการอนุรักษ์พลังงาน
                ง.  การนำไปปฏิบัติและการควบคุม
7.  เพราะเหตุใดระบบการจัดการด้านพลังงานจึงต้องมีการกำหนดนโยบายพลังงาน
                ก.  เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน
                ข.  เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
                ค.  เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์พลังงาน
                ค.  เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
8.  การทบทวนผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานในระบบการจัดการด้านพลังงานเป็นหน้าที่      
    ของใคร
               ก.  บุคลากร
                ข.  ผู้บริหาร
                ค.  หัวหน้างานฝ่ายต่าง ๆ
                ง.  บุคคลภายนอกหน่วยงาน
9.  การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนใดที่สำคัญที่สุก
                ก.  การสร้างความต้องการ
                ข.  การตั้งทีมอนุรักษ์พลังงาน
                ค.  การปรับความคิดของผู้บริหาร
                ง.  การกำหนดเป้าหมายและมาตรการ
10.  ใครคือทีมอนุรักษ์พลังงานในองค์กร
                ก.  ตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ
                ข.  หัวหน้างานฝ่ายต่าง ๆ
                ค.  ตัวแทนจากฝ่ายบริหาร
                ง.  พนักงานทุกคนในองค์กร